Sunday, January 31, 2010

จุดเริ่มต้นของ นปก. - นปช. (story of UDD - NUDD)

article : SIAM Freedom Fight

ในปี พ.ศ. 2552 องค์กรการเมืองภาคประชาชน ที่มีผู้ร่วมกิจกรรมเคลื่นไหวนับล้านคนทั่วประเทศ
รู้จักกันในนามว่า "คนเสื้อแดง" หรือ the red shirts อันที่จริงแล้วมีชื่ออย่างเป็นทางการ หรือขับเคลื่อนอย่าง
เป็นทางการจาก "องค์กรการเมืองภาคประชาชน" ที่เรียกว่า "แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ"
มีชื่อย่อว่า นปช. มีชื่อภาษาอังกฤษว่า National United Front of Democracy Against Dictatorship (NUDD)
ซึ่งพัฒนามาจากเดิมคือ "แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ" (นปก.) หรือ United Front of Democracy
Against Dictatorship (UDD)

แม้ชื่อทางการขององค์กรคือ นปช. (NUDD) แต่สื่อต่างประเทศจำนวนมากก็ยังคงเรียกว่า UDD อยู่ด้วยความ
เคยชิน และมาถึงวันนี้ คำว่า "คนเสื้อแดง" หรือ the red shirts กลายเป็นคำเรียกติดปากไปเสียแล้ว ไม่ว่าจะ
โดยใคร ฝ่ายไหนก็ตาม หากจะรู้จักว่าคนเสื้อแดงเป็นใคร..อย่างไร
ต้องเข้าใจก่อนว่าเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทยนับจากชั่วโมงแรกของรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549


ก่อนจะมาเป็น นปก. - นปช.

01
รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มีพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ทำหน้าที่เป็นหัวหน้า
"คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค)"
และต่อมาแปลงร่างเป็น "คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)"

รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เกิดขึ้นขณะที่ ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีกำลังปฏิบัติราชการอยู่
ที่องค์การสหประชาชาติ นครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา และไม่สามารถติดต่อประสานงานกับคณะ
ในประเทศไทยเพื่อต่อต้านการรัฐประหารได้ แม้จะมีความพยายามอยู่บ้าง แต่มีปัญหาเรื่องการสื่อสาร..

การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นจุดหักเหทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ ที่เปลี่ยนความขัดแย้งในสังคม
ให้กลายเป็นความแตกแยก แตกหักจนนำสู่สภาพกึ่งสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนาน และการที่รัฐประหาร
ครั้งนั้น ได้มีสื่อมวลชนกระแสหลักเป็นทั้งแนวร่วม แกนนำและกระบอกเสียงของฝ่ายศักดินา-อำมาตยาธิปไตย
ทำให้ภาพที่ปรากฏต่อสังคมในเบื้องต้น จึงเต็มไปด้วยความหวานชื่น ความปิติยินดีของแนวร่วม กลุ่มพันธมิตรฯ
รวมถึงความชื่นบานของผู้บงการเบื้องหลังทั้งหลาย จนกลุ่มประชากรผู้เสพสื่อกระแสหลักบางส่วน พลอยเกิด
อาการปิติยินดีตามเขาไปด้วย คนเหล่านี้ส่วนมากเป็นชนชั้นปฏิกิริยา ชนชั้นกลางในกรุงเทพ และคนภาคใต้อีก
เกือบทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม ยังมีประชาชนอีกมากมายที่ไม่ปลื้ม ไม่ยินดีกับรัฐประหาร

และกระบวนการต่อต้านรัฐประหารเริ่มขึ้นตั้งแต่คืนวันที่ 19 กันยายนนั้นเอง
ใบปลิว แผ่นพับ การสื่อสารทางอินเตอร์เนตแพร่กระจาย นับแต่เช้าของวันที่ 20 กันยายน
ซึ่งทางฝ่ายรัฐประหาร หรือ คปค. (คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข)
ตอบโต้อย่างรวดเร็วด้วยการปิดเว็บไซต์ต่างๆกว่าหนึ่งพันเว็บ แต่ยังคงไม่สามารถลดกระแสการต่อต้านลงไปได้ ..
กลับเป็นการยั่วยุจุดชนวนให้ลุกลามมากขึ้นไปอีก เมื่อผู้คนไม่สามารถต่อต้านอย่างเปิดเผย การต่อสู้ในทางลับ
หรือขบวนการใต้ดินจึงเกิดขึ้นมาอย่างหลากหลาย และฝ่ายรัฐประหารก็ไม่สามารถติดตามได้ เพราะไม่รู้ว่า
คนเหล่านี้เป็นใคร ถึงแม้ คปค. - คมช. จะสามารถแทรกซึมได้บ้างเป็นบางองค์กรก็ตาม

อีกประการหนึ่งคือฝ่ายรัฐประหารมัวเสียเวลาหวาดระแวงนักการเมือง
และมองว่าหากกำจัด ดร.ทักษิณ ชินวัตรลงไปได้แล้ว ก็จะสามารถยุติเรื่องราวต่างๆได้ง่ายดายทันที
ซึ่งเป็นความผิดพลาดใหญ่หลวงของฝ่ายรัฐประหาร
เพราะฝ่ายการเมือง หรือนักการเมืองขณะนั้นอยู่ในสภาพมึนงง ไร้น้ำยา แม้แต่คนของพรรคไทยรักไทย
ก็มิได้มีปฏิกิริยาอะไรที่คิดต่อสู้ ทั้งที่มีฐานมวลชนมากมายพร้อมสนับสนุน

แม้นเมื่อนักสู้อย่าง วีระ มุสิกพงษ์ เดินเข้าไปในที่ทำการพรรค และเรียกร้องให้เพื่อนสมาชิกกระทำการอะไร
สักอย่างที่แสดงออกซึ่งการต่อต้านรัฐประหาร ก็ดูเหมือนไม่ได้รับการตอบสนอง

ฝ่ายทหารที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหาร และเตรียมรอคำสั่งให้สู้..ในคืนวันที่ 19 กันยายน ก็ไม่ได้รับคำสั่งจาก
ผู้บังคับบัญชาให้สู้ และต้องสลายกำลังกลับไปจนหมด

ทางด้าน ดร. ทักษิณ ชินวัตร ก็ดูเหมือนถอดใจไปแล้ว เมื่อเขาเลือกที่จะไม่ประกาศตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น ทั้งที่
มีเสียงสนับสนุนจากนานาประเทศ ..และยังมีประชาชนในประเทศอีกหลายล้านคนที่พร้อมลุกขึ้นสู้ เพียงแค่
ให้มีทิศทางที่ชัดเจนจากฝ่ายการเมืองเท่านั้น -- อย่างไรก็ตาม กระบวนคิดของ ดร. ทักษิณ ในเวลานั้นยังคง
ผูกพันกับ "ความเชื่อ" และ "การยอมจำนนต่อ" ระบอบศักดินาอยู่มาก น่าจะเป็นการถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เป็น
นักเรียนเตรียมทหาร ซ้ำยังเคยรับราชการตำรวจอยู่อีกหลายปี เขาจึงไม่สามารถตัดใจให้พ้นกรอบคิดนั้นไปได้

เมื่อกองทัพ - นักการเมืองไม่อยู่ในสภาพต่อสู้ หรือไม่มีจิตใจต่อสู้
ภาระทั้งหลายจึงตกมาเป็นของประชาชนเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งจุดนี้แหละที่ทำให้ทุกอย่างเข้าสู่องค์ประกอบ
ของการเป็นจุดหักเหสำคัญทางประวัติศาสตร์
.. นั่นคือ การต่อสู้กับรัฐประหารครั้งนี้ เริ่มโดย
ประชาชน เพื่อประชาชน ..และเพียงลำพังประชาชน


สุพจน์ ด่านตระกูล
นักต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมทางประวัติศาสตร์ในระบอบประชาธิปไตย เคยกล่าวไว้ (ปี พ.ศ. 2549) สรุปความดังนี้ว่า
การรัฐประหารในอดีตของประเทศไทย เป็นความขัดแย้งรอง คือเป็นความขัดแย้งในหมู่ชนชั้นสูง หรือชนชั้นอำนาจ
โดยประชาชนมิได้รู้เห็น มิได้เกี่ยวข้องสนใจ แต่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นเรื่องของความขัดแย้งหลัก
คือชนชั้นอำนาจได้แย่งชิงอธิปไตยไปจากปวงชนโดยตรง (หมายถึงการยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากตัวแทนประชาชน
ที่ยังมีประชาชนจำนวนมากมายสนับสนุน) รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จึงเป็นความขัดแย้งหลัก - ความขัดแย้ง
ระหว่างประชาชน กับชนชั้นที่ผูกขาดอำนาจในสังคมไว้เนิ่นนาน

จากความเห็นข้างต้นของสุพจน์ ด่านตระกูล ทำให้มองเห็นภาพ
ความขัดแย้งและการต่อสู้ที่หยั่งรากลึกแบบพลิกแผ่นดินในระยะยาว

ด้วยเหตุนี้ ความขัดแย้งทางสังคม การเมือง วัฒนธรรมในประเทศไทยจึงดำเนินสืบเนื่องยาวนานหลายปี
และไม่มีท่าจะยุติได้ง่ายดายเหมือนปัญหาเก่าๆในอดีต - ยิ่งไปกว่านั้น แนวร่วมประชาชนได้พัฒนาก้าวผ่าน
ลำดับชั้นทางความคิดอยู่ตลอดเวลาของการต่อสู้ จนกลายเป็นขบวนการที่ยึดโยงกันด้วยแนวความคิด และ
ลดทอนการยึดติดกับบุคคลลงไปเรื่อยๆ ซึ่งขบวนการเช่นนี้ ยากที่จะปราบปรามลงด้วยกำลังอาวุธทางทหาร
ยากที่จะถูกบ่อนทำลายด้วยการโฆษณาชวนเชื่อแบบเดิมๆที่อำมาตย์และสื่อกระแสหลักนิยมใช้มานาน

แน่นอนว่า การเริ่มต้นครั้งแรกของประชาชนย่อมปราศจากประสบการณ์
แต่ประสบการณ์นั้นจะได้มา ต้องมีการปฏิบัติจริง ลองผิดลองถูก

02
ประชาชนที่ไม่เอา คมช. นั้นมีมากกว่าที่หลายฝ่ายคาดคิดไว้
แม้แต่ในหมู่ประชาชนด้วยกันเอง ก็ยังคาดไม่ถึงว่าจะมีคนคิดเหมือนตนเองมากมายขนาดนี้
ซึ่งทำให้การประเมินสถานการณ์ของทุกฝ่าย ผิดพลาดคาดเคลื่อนกันไปหมด

สิ่งที่ผู้บงการ (มือที่มองไม่เห็น) คาดว่าจะจบง่ายๆ เมื่อตั้งรัฐบาลใหม่
ก็ไม่จบจริง ที่คิดว่าใช้อำนาจข่มขู่ให้หวาดกลัว คนก็ไม่กลัว ที่คิดว่าเป็นม๊อบรับจ้าง ถึงเวลาก็ไม่ใช่ ..ซ้ำยังมี
มวลชนที่ต่อต้านฝ่ายศักดินา ต่อต้านอำมาตยาธิปไตยออกมาร่วมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่ในกรุงเทพฯ ซึ่งฝ่าย
อำมาตย์คิดเสมอว่า กรุงเทพเป็นฐานอำนาจหลักของตนเอง ก็ยังมีขบวนการต่อต้านที่หนาแน่น

ในวินาทีแรกของการถูกรัฐประหาร อาจเป็นความมึนงง เพราะยากที่จะคาดฝันว่าการรัฐประหารยังสามารถเกิดขึ้น
ได้ในศตวรรษนี้ และในยามที่เศรษฐกิจการค้ามีอนาคตสดใสรออยู่ข้างหน้า

ถึงแม้เค้าลางแห่งรัฐประหารก่อตัวมาตลอดปี 2549 ตั้งแต่การรวมตัวของกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญ
ในการยึดอำนาจ สื่อสารมวลชนกระแสหลัก..ที่เป็นพวกเดียวกับพันธมิตรฯ
การเดินสายของพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ตามค่ายทหารต่างๆ บอกให้ทหารไม่ต้องเชื่อฟังรัฐบาล เพราะทหาร
เป็นทหารของพระราชา - สถานการณ์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่รุนแรงมากขึ้นอย่างผิดสังเกต รวมไปถึงความ
นิ่งเฉยของคนในคณะรัฐบาล ดร. ทักษิณ ทั้งที่มีต่อการถูกโจมตีรอบด้าน ซึ่งก็เป็นสัญญาณบ่งบอกว่ากำลังมีคน
ในคณะรัฐบาลเตรียมทรยศหักหลังพรรค - แต่แน่นอนว่า ไม่มีใครนึกถึงเรื่องเหล่านี้ (ขณะนั้น) เพราะในความคิด
ของคนปกติ การรัฐประหารเป็นสิ่งที่อยู่เหนือสามัญสำนึก มีแต่คนวิกลจริตเท่านั้นที่สามารถทำได้ ไม่มีคนดีที่ไหน
ที่คิดเผาบ้านตนเอง - แม้นมีเสียงเตือนจากเครือข่ายประชาธิปไตยหลายฝ่าย ว่าศักดินานั้นไม่ใช่มนุษย์ปกติ และ
โหดเหี้ยมวิกลจริตเหนือสามัญสำนึก แต่ทว่าเสียงเตือนนั้นกลับได้รับการเยาะเย้ยถากถาง ว่าเป็นพวกหวาดระแวง
จนเกินกว่าเหตุ ..

ฝ่ายศักดินา มีกลุ่มพันธมิตรฯ (ชื่อเต็มว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นชื่อที่ขัดแย้งกับความจริงและ
พฤติกรรมขององค์กรอย่างสุดขั้ว) กลุ่มพันธมิตรฯ มีพวกปฏิกิริยาชนชั้นกลางในกรุงเทพ หัวเมืองใหญ่เป็นแนวร่วม

ทางฝ่ายพรรคไทยรักไทย ยังไม่มีการจัดตั้งระดมมวลชนอย่างเป็นระบบ เพื่อต่อสู้กับมวลชนพันธมิตรฯบนท้องถนน
นอกจากม็อบสนับสนุนรัฐบาลที่สวนจตุจักร ซึ่งเป็นไปอย่างตามมีตามเกิด ซึ่งทำให้จำกัดอยู่ในวงแคบ

ขณะกลุ่มพันธมิตรฯมีสื่อกระแสหลัก เช่นเครือผู้จัดการ (หนังสือพิมพ์ นิตยสาร โทรทัศน์ ASTV) เครือเนชั่น (หนังสือ
หนังสือพิมพ์ รายการโทรทัศน์) สื่อในเครือมติชน ซึ่งเป็นสายตรงศักดินา และสื่อมวลชนมากมายในข่ายอิทธิพลของ
ปีย์ มาลากุล ซึ่งครอบคลุมผูกขาดไปเกือบทุกหนแห่งในประเทศ และแนวร่วมปลายแถวมากมายที่ตามมาเป็นแฟชั่น

เครือข่ายศักดินาและกลุ่มพันธมิตรฯใช้ศักยภาพสื่อสารมวลชนได้อย่างดีเยี่ยม แต่ก็ได้ขยายขอบเขตความขัดแย้ง
ออกไปอย่างมากมาย จนกลายเป็นแรงสะท้อนกลับในปีต่อมา

เมื่อเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 กลุ่มคนที่เคยออกมาต่อต้านกลุ่มพันธมิตรฯจำต้องแยกย้ายสลายตัวกันไป
เว็บไซต์ สถานีวิทยุชุมชนของฝ่านสนับสนุนพรรคไทยรักไทยถูกปิด ชินวัฒน์ หาบุญพาด ผู้นำวิทยุชุมชนคนแท๊กซี่
ก็ต้องอพยพออกนอกกรุงเทพ ไปซุ่มอยู่ทางภาคตะวันออก - สื่อสารมวลชนทุกแขนงในห้วงเวลานั้นตกอยู่ในมือ
ของคณะรัฐประหารเบ็ดเสร็จเด็ดขาด..

และนี่คือจุดเริ่มต้นของการสื่อสารแบบใต้ดินแห่งยุค

03
ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น
เมื่อกองทัพ - นักการเมืองไม่อยู่ในสภาพต่อสู้ หรือไม่มีจิตใจต่อสู้
ภาระทั้งหลายจึงตกมาเป็นของประชาชนเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งจุดนี้ที่ทำให้ทุกอย่างเข้าสู่องค์ประกอบของการ
เป็นจุดหักเหสำคัญทางประวัติศาสตร์..
นั่นคือการต่อสู้กับรัฐประหารครั้งนี้เริ่มโดยประชาชน เพื่อประชาชน ..และเพียงลำพังประชาชน

ท่ามกลางความมึนงงกับรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
คนที่จุดประกายการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเป็นคนแรก
คือสามัญชนคนหนึ่งชื่อ นวมทอง ไพรวัลย์


นวมทอง ไพรวัลย์ อดีตพนักงานการไฟฟ้าบางกรวย
เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้ขับรถแท็กซี่ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นโคโรลล่า สีม่วง ทะเบียน ทน 345 กทม.
ของบริษัทสหกรณ์แหลมทองแท็กซี่ จำกัด พุ่งเข้าชนรถถังเบา M41A2 Walker Bulldog ตรากงจักร 71116
ของคณะรัฐประหาร คปค. และได้รับบาดเจ็บสาหัส

ต่อมาในคืนวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2549
นวมทอง ไพรวัลย์ ได้ผูกคอตายกับราวสะพานลอย บริเวณถนนวิภาวดีรังสิตฝั่งขาออก เยื้องกับที่ตั้งสำนักงาน
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (บริษัท วัชรพล จำกัด) โดยในจดหมายลาตายระบุ เพื่อลบคำสบประมาทของ
พ.อ. อัคร ทิพโรจน์ รองโฆษก คปค. ที่ว่า "ไม่มีใครมีอุดมการณ์มากขนาดยอมพลีชีพได้"

ในคืนที่นายนวมทองแขวนคอตาย เขาตั้งใจสวมเสื้อยืดสีดำ
สกรีนข้อความเป็นบทกวี ที่เคยใช้ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ด้านหน้าเป็น
บทกวีของรวี โดมพระจันทร์ และ ด้านหลัง เป็นบทกวีของกุหลาบ สายประดิษฐ์
(วิกิพีเดีย)

ความตายของนวมทอง ไพรวัลย์ จุดประกายการต่อสู้ขึ้นในใจของผู้คนมากมาย
ทั้งที่เป็นแนวร่วมใต้ดิน ทั้งที่ยังมิได้เข้าร่วมขบวนการใดในขณะนั้น

หนึ่งในขบวนการใต้ดิน คือพวก d code ซึ่งสื่อสารในทางลับ นัดแนะและแพร่กระจายใบปลิว
แผ่นพับต่อต้านรัฐประหาร อีกทั้งยังเป็นการเริ่มต้นรวบรวมเครือข่ายต่างๆเข้าหากัน พวก d code นี้ในภายหลังได้
กลายมาเป็นกลุ่ม "คนวันเสาร์ ไม่เอาเผด็จการ" และเป็นตัวหลักสำคัญองค์กรหนึ่งของการต่อสู้ขับไล่ระบอบเผด็จการ
อำมาตยาธิปไตย -- กลุ่มคนเหล่านี้ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่เกิดรัฐประหาร และเพิ่มจำนวนแนวร่วม - สมาชิก รวมถึง
กิจกรรมต่างๆขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ออกมาสู่ท้องถนนในเวลาต่อมา (ในนามกลุ่มคนวันเสาร์ ไม่เอาเผด็จการ)

อย่างไรก็ตาม พวก d code ในช่วงแรก ก็ถูกแทรกซึมจากฝ่ายตรงข้ามเช่นกัน น่าจะเป็นเพราะทุกอย่างเป็นความลับ
และไม่มีใครอยากเปิดเผยตัวตน โดยเฉพาะระยะก่อตั้งขบวนการ - ดังนั้น คนที่เปิดเผยโฉ่งฉ่างมากที่สุด จึงถูก
ยกให้เป็นผู้นำขบวนไปโดยปริยาย - และเป็นธรรมดาที่คนเปิดเผยโฉ่งฉ่างอย่างผิดธรรมชาตินั้น ย่อมมีวาระซ่อนเร้น

วันที่ 31 ตุลาคม 2549
กลุ่มประชาชนผู้รักประชาธิปไตยจัดแถลงข่าวที่โรงแรมรัตนโกสินทร์
เรื่องการชุมนุมที่จะมีขึ้นในวันที่1 พฤศจิกายน 2549 ณ ท้องสนามหลวง ตั้งแต่เวลา 16.00 น. -
โดยมี นายชนาพัทธ์ ณ นคร หรือที่รู้จักกันในนาม ‘เตมูจิน’ เป็นหนึ่งในแกนนำร่วมแถลงครั้งนี้
(อ่านเพิ่มเติม)

ต่อมาภายหลัง ปรากฏว่านายชนาพัทธ์ ณ นคร หรือ ‘เตมูจิน’ เป็นคนของฝ่าย คมช. ที่ถูกส่งเข้ามาแทรกซึมใน
กลุ่มต่อต้านคณะรัฐประหาร (อ่านเพิ่มเติม)

นอกจากนั้นยังมีกลุ่มต่างๆอีกหลายองค์กร ที่ออกมาร่วมต่อต้านการรัฐประหาร เช่น เครือข่าย 19 กันยา -
กลุ่ม 24 มิถุนา - พลเมืองภิวัฒน์ - พิราบขาว 2006 - สมาพันธ์ประชาธิปไตย ..เป็นต้น คนเหล่านี้ออกสู่ท้องถนน
ระหว่างยังมีการประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งห้ามชุมนุมเกินกว่า 5 คน นับเป็นการรัฐประหารครั้งแรกของประเทศไทย
ที่มีผู้คนออกมาต่อต้านท้าทายกันอย่างซึ่งหน้า และต่อเนื่อง

04
ในช่วงเวลานั้น ตำรวจ - ทหารตั้งด่านสกัดกั้น ตรวจค้นประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือ อีสาน ด้วยเกรงว่าประชาชน
จะเดินทางเข้ามาต่อต้านรัฐประหาร

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549
ประชาชนร่วมพันคนชุมนุมที่ท้องสนามหลวง ตำรวจสกัดกั้นมิให้มีการแห่ศพของนวมทอง ไพรวัลย์
(อ่านข้อมูลเพิ่มเติม)

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2549 งานศพนวมทอง ไพรวัลย์
คณะรัฐประหาร คปค. ส่งตัวแทนมาร่วมในงานศพ ขณะที่ผู้คนส่งเสียงขับไล่ คปค. และทวงคืนประชาธิปไตย
(อ่านข้อมูลเพิ่มเติม)

เครือเนชั่น ออกข่าวโกหกเรื่องการชุมนุม เพื่อให้คนสับสน
(อ่านเพิ่มเติม)
การชุมนุมวันที่ 11 พฤศจิกายน 2549 ยังคงเป็นไปอย่างเบาบาง - อยู่ในขั้นเริ่มต้น
(อ่านเพิ่มเติม)

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2549
สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) ได้ประกาศจุดยืนเข้าร่วมกับเครือข่าย 19 กันยาฯ
เพื่อต้านรัฐประหาร นอกจากนั้น นายศุภ โกลสะสุต สนนท.และนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ยังกล่าวอีกว่า สนนท.ชุดปัจจุบันไม่เห็นด้วยกับ สนนท.ชุดก่อน คือชุดปัจจุบันไม่เอามาตรา 7 ไม่เอารัฐประหาร
ไม่เอา คปค. เพราะไม่ใช่วิถีประชาธิปไตย อีกทั้งต้องฟื้นฟูจิตสำนึกองค์กรประชาธิปไตยหลายองค์กรขึ้นมาใหม่
จากนั้นได้เดินขบวนไปที่หน้ากองบัญชาการกองทัพบก (ข่าวประชาไท)
(อ่านเพิ่มเติม)

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2549
วีระ มุสิกพงษ์ ขณะจัดรายการอยู่ที่ FM 93.5 Mhz วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของฝ่ายรัฐประหาร และการ
แบ่งผลประโยชน์ต่างตอบแทนในกลุ่มผู้ก่อการ - จากนั้น..รายการจึงถูกตัดสัญญาณทั้งที่ยังพูดออกอากาศอยู่

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2549 กลุ่มคนวันเสาร์ ไม่เอาเผด็จการ ชุมนุมที่สนามหลวง
(อ่านเพิ่มเติม)
วันที่ 16 ธันวาคม 2549 กลุ่มคนวันเสาร์ฯ เปิดปราศรัยขับไล่ คมช. ที่สนามหลวง
(อ่านเพิ่มเติม)
วันที่ 23 ธันวาคม 2549 กลุ่มคนวันเสาร์ฯ เปิดปราศรัยขับไล่ คมช. ที่สนามหลวง
และในวันเดียวกันนั้นเอง..
พล.อ.สนธิ บุญรัตกลิน ถูกประชาชนและทหารจำนวนหนึ่ง ต่อต้านขณะที่ทำหน้าที่เป็นประธานในการเดิน
สวนสนามในงาน"รวมพลังมวลชน"ที่สนามกีฬา 700 ปี เชียงใหม่จนทำให้การเดินสวนสนามต้องยุติลงทันที
(อ่านเพิ่มเติม)

มกราคม 2550
วันพระราชทานเพลิงศพครูจูหลิง ณ สุสานบ้านปงน้อย กิ่ง อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย
ขณะที่นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เดินนำอดีต ส.ส.เชียงราย
ผ่านประชาชนนับหมื่นที่มาร่วมงาน เสียงปรบมือต้อนรับ พร้อมเสียงเกรียวกราว ดังกึกก้อง
ทั่วทั้งบริเวณ ต่อหน้าประธาน คมช. รมว.กลาโหม นายกรัฐมนตรีและข้าราชการที่ไปร่วมงาน


ในช่วงนั้น การชุมนุมที่ท้องสนามหลวงและสวนลุมพินียังคงมีอยู่เป็นประจำทุกอาทิตย์
เป็นของกลุ่มคนวันเสาร์ฯบ้าง เครือข่าย 19 กันยาฯบ้าง จนกลายเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว
แต่ยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้ถึงความเปลี่ยนแปลงอะไร

05
วันที่ 17 มีนาคม 2550
สถานีข่าว PTV เริ่มออกอากาศ ..
แล้วก็ถูกตัดสัญญาณไม่ให้ออกอากาศในเวลาอันรวดเร็ว จนเป็นเหตุให้ PTV ต้องออกมาตั้งเวทีปราศรัยตาม
ท้องถนน - นำสู่กระบวนการรวมตัวครั้งใหญ่ของแนวร่วมประชาธิปไตยหลากหลายองค์กรในอีกไม่นานต่อมา

วันที่ 23 มีนาคม 2550
สถานีข่าว PTV นำโดย วีระ มุสิกพงษ์ จตุพร พรหมพันธุ์ ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ก่อแก้ว พิกุลทอง จักรภพ เพ็ญแข
ออกเวทีปราศรัยที่ท้องสนามหลวง หลังจากถูก คมช. กลั่นแกล้งตัดสัญญาณโทรทัศน์ มิให้ออกอากาศ (นับแต่
ชั่วโมงที่เริ่มออกอากาศ ก็ถูกตัดสัญญาณไปทันที) ..การเข้าสู่เวทีสนามหลวงครั้งนี้ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหว
อย่างรุนแรงทางการเมืองต่อฝ่ายเผด็จการอำมาตยาธิปไตย

จำนวนผู้คนบนท้องสนามหลวงเริ่มมีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ส่วนหนึ่งเป็นผู้ชุมนุมเดิมของกลุ่มต่างๆ ที่มาปักหลัก
ต่อสู้ คมช. อยู่นานแล้ว อีกส่วนหนึ่งเป็นประชาชนที่สนับสนุนพรรคไทยรักไทย และดร.ทักษิณ ชินวัตร อีกส่วนเป็น
แนวร่วมใหม่ๆ ที่เริ่มมองเห็นความชัดเจนในการต่อสู้ให้ได้ชัยชนะ ..และจำนวนผู้คนที่มาฟัง PTV ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

อย่างไรก็ตาม แม้การตั้งเวทีของ PTV จะมีตามมาอีกหลายครั้ง แต่ก็เป็นไปโดยลำพัง..และมิได้เกี่ยวข้องกับ
แนวร่วมกลุ่มอื่นๆในขณะนั้น คือในเวลานั้น ต่างกลุ่มต่างดำเนินการของตนเอง ตามวิถีตนเองเป็นหลัก ยังมิได้รวม
กันเป็นหนึ่ง - หลังจากกลุ่ม PTV ลงสนามหลวงเมื่อ 23 มีนาคม ..และก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวทางการเมือง
อย่างเห็นได้ชัด การตอบโต้จากฝ่ายศักดินา - อำมาตยาธิปไตย ก็เป็นไปอย่างรุนแรงเช่นกัน -

ในวันที่ 24 มีนาคม 2550 ตำรวจและเจ้าหน้าที่เทศกิจของ กทม. (ภายใต้ผู้ว่าฯจากพรรคประชาธิปัตย์) ได้เข้า
รื้อเวทีของพิราบขาว (ไม่ใช่เวที PTV เพราะ PTV ใช้สนามแค่วันศุกร์ และได้เก็บของกลับไปแล้ว) จากนั้นตำรวจ -
เทศกิจ ก็ได้ล้อมรั้วลวดหนามในบริเวณสนามหลวง อีกทั้งยังจับกุมตัวนายนพรุจน์ แกนนำกลุ่มพิราบขาวไปกักขัง
ไว้หลายชั่วโมง

วันเดียวกัน กระทรวง ICT ได้ปิดเว็บไซต์เว็บหนึ่งของคนวันเสาร์ฯ คือเว็บ saturdayvoice.com - จากนั้น ตำรวจ -
เทศกิจก็ตามไปรื้อเวทีของคนวันเสาร์ฯ ที่ท้องสนามหลวงด้วย ..อย่างไรก็ตาม เว็บที่ถูกปิด คนวันเสาร์ก็เปิดอันใหม่
แทนและสามารถใช้งานได้ดังเดิมใเวลาไม่นาน

เหตุการณ์ยิ่งร้อนแรง - คมช.มีคำสั่งให้ปิดการใช้สนามหลวงเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม - 5 เมษายน --
เมื่อใช้อำนาจแล้วยังไม่มีใครฟัง ก็สั่งปิดมันทั้งสนามหลวงเสียเลย ..อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายมองว่าอาการคลั่ง
ของ คมช. นั้นมิได้เกิดจากแนวร่วมอื่นๆ แต่ออกคำสั่งเพื่อจัดการกับ PTV โดยเฉพาะ

ศูนย์ข่าวของคนวันเสาร์ฯวิเคราะห์ว่า
"การประกาศจากฝ่ายเผด็จการที่ต้องการห้ามการใช้สนามหลวงในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น เป็นการห้ามการใช้เวที
และเครื่องเสียงขนาดใหญ่โดยเฉพาะ อันเป็นการเล็งเป้าไปยังการชุมนุมรับฟังการปราศรัยของกลุ่มสถานีข่าว PTV
ไม่ใช่เป็นการห้ามการร่วมชุมนุมของประชาชนแต่อย่างใด"
(อ่านเพิ่มเติม)
นายวีระ มุสิกพงศ์ ประธานกรรมการบริหาร สถานีโทรทัศน์ พีทีวี และทีมผู้บริหารแถลงข่าวชี้แจงกรณีที่
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก และประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. จะใช้
พระราชกำหนดฉุกเฉิน เพื่อห้ามไม่ให้ พีทีวี ตั้งเวทีปราศรัยที่ท้องสนามหลวง ในวันที่ 30 มีนาคมนี้ว่า การปราศรัย
เมื่อวันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมา เป็นเพียงการเรียกร้องขอความชอบธรรมในการถูกปิดกั้นการออกอากาศของพีทีวี
มาชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบ จึงอยากให้ คมช. เข้าใจวัตถุประสงค์ของการชุมนุมในครั้งนี้ด้วย

นายวีระ กล่าวด้วยว่า หากวันที่ 30 มีนาคมนี้ ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเพื่อการปราศรัย ก็คง
ต้องไปร่วมแสดงความคิดเห็นกลางแม่น้ำเจ้าพระยา หรือไม่ก็จะไปพูดที่หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานครแทน

คืนวันที่ 29 มีนาคม 2550 กำลังตำรวจ - ทหาร - เทศกิจ รวมหลายกองพันเข้าล้อมเวทีของกลุ่มพิราบขาว
ที่ท้องสนามหลวง ..ซึ่งมีคนร่วมฟังการปราศรัยอยู่แค่ 200 คนเท่านั้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงน่าจะเป็นการข่มขู่
ประชาชนให้หวาดกลัวเสียมากกว่า ..อย่างไรก็ตาม หลังจากประชาชนได้ทราบข่าวทางวิทยุอินเตอร์เนต และ
ช่องทางสื่อสารอื่นๆ ก็เดินทางมาสบทบเพิ่มขึ้นอีกนับร้อยคน - จนจบการปราศรัยตามเวลาปกติของกลุ่มพิราบขาว
ผู้คนก็แยกย้ายกันกลับบ้าน ปล่อยให้ทหาร - ตำรวจนั่งเฝ้าต้นมะขามไปฝ่ายเดียว

เช้าตรู่ของวันที่ 30 มีนาคม 2550
การเผชิญหน้าระหว่างตำรวจกับกลุ่มพิราบขาวเริ่มต้นอีกครั้ง และดำเนินต่อจนถึงช่วงสาย ตำรวจจึงถอนกำลังกลับ -

ทางด้านลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะใช้เป็นพื้นที่ชุมนุมของ PTV ..ทาง กทม. ได้นำ
รถขยะมาจอดขวางเกะกะจำนวนมาก เพื่อกลั้นแกล้ง ทั้งยังตั้งแง่ในเรื่องการใช้เครื่องขยายเสียง มีการเตรียมกำลัง
ทหารจาก ราบ 11 เพื่อใช้ในการสลายการชุมนุม หรือกวาดล้างกลุ่มต่อต้าน คมช. -- อย่างไรก็ตาม หลังการเจรจา -
การชุมนุมของ PTV ก็สามารถดำเนินไปได้ ท่ามกลางการต้อนรับของประชาชนกว่าหมื่นคน

เช้าวันที่ 31 มีนาคม 2550
ตำรวจ - กทม. ตามรื้อเวทีสนามหลวงของพิราบขาวอีกครั้ง
ในช่วงบ่าย กระทรวง ICT ปิดเว็บ - สถานีถ่ายทอดสดของคนวันเสาร์ฯหมดทุกสถานี..ไม่มีเหลือ
ทำให้กลุ่มคนวันเสาร์ฯแก้ปัญหาด้วยการใช้เว็บสำรอง และที่มีเซิร์ฟเวอร์ในสหรัฐอเมริกา แต่เมื่อถ่ายทอดจริง
ก็มีปัญหาถูกบล๊อคสัญญาณอยู่เป็นช่วงๆ จนทำให้ผู้คนบางส่วนที่ฟังอยู่กับบ้าน เกิดความรำคาญ และเดินทางมา
นั่งฟังที่สนามหลวงด้วยตนเอง ..ในช่วงเวลาสองทุ่มของคืนนั้น นับจำนวนผู้มานั่งรอบๆรถขยายเสียงของ
คนวันเสาร์ฯ ประมาณหนึ่งพันหกร้อยคน (ไม่นับทหารที่มานั่งล้อมอยู่ใต้ต้นมะขาม)

เดือนเมษายน 2550
กลุ่มคนวันเสาร์ฯยังคงยึดสนามหลวงเป็นพื้นที่ปราศรัยเป็นปกติ

เริ่มเดือนเมษายน เปิดตัวของเว็บ Hi Thaksin เพื่อแหล่งข่าวของประชาชนฝ่ายประชาธิปไตย
ด้วยการเปิดโปงข้อมูล ภาพถ่าย เอกสาร และความระยำของ คมช. และพันธมิตรฯ เว็บนี้ถูกโจมตีอย่างหนัก
ทั้งทางหน้าสื่อมวลชนกระแสหลัก และทั้งทางเทคโนโลยี แต่ก็อยู่รอดมาได้อย่างทุลักทุเล ตอลดหนึ่งปี
จนปิดตัวไปเองในปี 2551 เมื่อ "พรรคพลังประชาชน" ชนะการเลือกตั้ง และกลุ่มการเมืองของ เนวิน ชิดชอบ
ในฐานะหนึ่งในแนวร่วมต่อต้าน คมช.ได้กลับเข้ามามีอำนาจการเมืองอีกครั้ง และกลุ่มของเนวิน ชิดชอบนี่เอง
ที่สนับสนุนเว็บ Hi Thaksin รวมทั้งหนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์ ซึ่งเป็นทืมเดียวกับที่เขียนบทความในเว็บ Hi Thaksin
(ภายหลังเกิดการขัดแย้งกับพรรคพลังประชาชน ทีมงานเว็บ Hi Thaksin ก็ไปเปิดเว็บใหม่ เพื่อใช้โจมตี ดร.ทักษิณ
โดยใช้ชื่อเว็บว่า เหี้ยทักษิณ ทั้งหมดนี้ คาดว่าน่าจะเป็นนายทุน - ผู้สนับสนุนรายเดิม คือ เนวิน ??)

เดือนพฤษภาคม 2550 กลุ่มคนไทยในอังกฤษ ร่วมประท้วง - ขับไล่ คมช. ที่หน้าสถานทูตไทย

วันที่ 6 พฤษภาคม 2550 : PTV ปราศรัยที่ท้องสนามหลวงอีกครั้ง

17 พฤษภาคม 2550 คมช. สั่งทหารเข้าปิดวิทยุชุมชนคนรู้ใจ FM 87.75 Mhz. ของ ชูพงศ์ ถี่ถ้วน
หลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โทรศัพท์ ข้ามทวีปจากอังกฤษ เข้ามาให้สัมภาษณ์กับวิทยุคลื่นดังกล่าว
เมื่อ 16 พฤษภาคม 2550

18 พฤษภาคม 2550 แถลงการณ์ แนวร่วมประชาชนต้านรัฐประหาร (นปตร.)
ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยองค์กรต่างๆ 22 องค์กร ได้แก่
คนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ, กลุ่มเพื่อนรัฐธรรมนูญ 2540, กลุ่มคนจนเมืองรักประชาธิปไตย, สมาพันธ์ประชาธิปไตย,
พันธมิตรสหภาพแรงงานประชาธิปไตย, สมาพันธ์คนรักประชาธิปไตย, นิตยสารสยามปริทัศน์, พรรคแนวร่วม
ภาคประชาชน, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.), เครือข่ายรามคำแหงรักประชาธิปไตย,
สหพันธ์แรงงานอาหารและเครื่องดื่ม, กลุ่มพลเมืองภิวัฒน์, กลุ่มกรรมกรปฏิรูป, ชมรมคนรักอุดร, มูลนิธิวีรชน
ประชาธิปไตย, สมาพันธ์แนวร่วมประชาธิปไตยอีสาน, สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอตัดเย็บเสื้อผ้า,
กลุ่มประชาธิปไตยไม่ใช่กิ๊ก (กปก.), กลุ่มพลังหนุ่มสาวเพื่อประชาธิปไตย, โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย,
สหพันธ์แรงงานกระดาษ, และแนวร่วมประชาชนแห่งประเทศไทย
(อ่านเพิ่มเติม)

19 พฤษภาคม 2550 แนวร่วมประชาชนต้านรัฐประหาร (นปตร.)
เดินขบวนประชาชนออกจากสนามหลวงเพื่อไปยัง อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย

20 พฤษภาคม 2550
ประชาชนหลายหมื่นคนร่วมรับฟังการปราศรัย และร่วมเดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยกับกลุ่ม PTV
ซึ่งเป็นการเดินขบวนครั้งใหญ่สุดนับแต่มีการรัฐประหาร
สื่อสารมวลชนฝ่ายเผด็จการ เช่น The Nation รายงานว่ามีคนมาร่วมเพียงหนึ่งพันคน แต่ภาพที่ปรากฏนั้น
ขัดแย้งกับข่าวที่รายงานโดยสิ้นเชิง -สื่อมวลชนไทยนั้น รายงานในฐานะ "คู่กรณี" หรือ "คู่อาฆาต" กับคนเสื้อแดง
จนเป็นเรื่องตลก ที่คนมักพูดกันว่า "พันธมิตรฯ มาห้าพัน สื่อไทยบอกว่ามาเป็นแสน .. คนเสื้อแดงมาเป็นแสน
แต่สื่อไทยบอกว่ามาห้าร้อย .. แล้วก็มีแต่ควายในกรุงเทพ ที่เชื่อกันเป็นตุเป็นตะ"

บับแต่มีความเคลื่อนไหวบนท้องถนน ฝ่ายเผด็จการเริ่มออกอาการบ้าคลั่งไล่บล็อคเว็บไซต์สถานี PTV รวมถึง
เว็บไซต์คนวันเสาร์ฯ และวิทยุต่างโดน ICT บล็อคหรือเล่นงานจนหมด การดำเนินการจำกัดเสรีภาพดังกล่าวต่าง
ทำให้ประชาชนรู้สึกโกรธแค้น

ICT บล็อคกระทั่ง Shoutbox เสียหายถึงธุรกิจ - shoutbox เป็นของบริษัท shoutmix.com ซึ่งเปิดบริการซอฟแวร์
เพื่อการพูดคุยกันผ่านออนไลน์เช่นเดียวกับ MSN หรือระบบ chat อื่นๆ เมื่อเว็บใดเว็บหนึ่งขอเปิด shoutbox จะต้อง
จ่ายค่าลิขสิทธิ 20 เหรียญต่อปี จึงจะสามารถติดตั้ง tool ตัวนี้ลงในเว็บของตัวเองได้ และจะได้ URL ของ shoutbox
ต่อท้ายด้วยชื่อเว็บไซด์ของเว็บนั้น - ในกรณีที่บล็อก shoutbox ของคนวันเสาร์ ICT สามารถบล๊อคเฉพาะลิงค์นั้นๆ
ได้อย่างเอกเทศ - ทั้งนี้ shoutbox ของเว็บคนวันเสาร์จะใช้ url ที่ชื่อว่า
http://www2.shoutmix.com/?saturday และ http://www.shoutbox.com/?saturday
การที่ ICT บล็อกหมดทั้ง host ส่งผลกระทบต่อผู้ทำกิจการเว็บไซด์ทุกราย ที่ใช้ tool ของ shoutmix ทั้งหมด
ซึ่งทำธุระกิจอื่นๆ อยู่ - แน่นอนว่า ศักดินา อำมาตยาธิปไตยรวยอยู่แล้ว จึงไม่คำนึงถึงความเสียหายเหล่านี้
(อ่านเพิ่มเติม)

(เพิ่มเติมเกี่ยวกับการคุกคามสิทธิเสรีภาพประชาชนจากเผด็จการ คมช.)
Thailand’s military-backed government Blocking Cyber Dissidents Obstructs Return to Democracy
ALso About Thai Military Government Shut Down Radio Stations in 2007
by International Federation of Journalists

30 พฤษภาคม 2550 คมช. และ ตุลาการรัฐธรรมนูญบังคับให้ยุบพรรคไทยรักไทย

วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน 2550
PTV และแนวร่วมกลุ่มต่างๆรวมตัวกันชุมนุมครั้งใหญ่ที่ท้องสนามหลวง และประกาศจะชุมนุมยื้ดเยื้อทุกวัน
เพื่อขับไล่เผด็จการอำมาตยาธิปไตย คมช.
วันที่ 3 มิถุนายน 2550 การชุมนุมที่ท้องสนามหลวงยังคงดำเนินติดต่อกัน มีคนมาร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ
(อ่านเพิ่มเติม)

และมาถึงจุดนี้ องค์กร - กลุ่มต่างๆได้รวมตัวกันเป็น "แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ" หรือ นปก.

วันที่ 8 มิถุนายน 2550 -- นปก. ประกาศตั้งศาลประชาชน
คืนนั้นมีผู้คนมาร่วมมากมายหลายหมื่นคน ส่วนมากเป็นชนชั้นกลางในกรุงเทพมหานคร ซึ่งขับรถกันมาเอง..
ทำให้ที่จอดรถในสนามหลวงแน่นจนล้น บางส่วนนั่งรถแท๊กซี่มา..ทำให้ขากลับ ไม่มีรถแท๊กซี่เหลือเพียงพอ
แก่การบริการ ที่นั่งรถเมล์มาก็คงมีมากกว่า..แต่จะสังเกตุเห็นได้ยาก เพราะปะปนไปกับผู้คนอื่น

จากผู้ประท้วงขับไล่เผด็จการรัฐประหาร เพียงไม่กี่คนบนสนามหลวง เมื่อเดือนกันยายน 2549 กลายเป็นหลักร้อย
หลักพัน หลักหมื่น และหลายหมื่นในเวลาต่อมา จากกลุ่มใต้ดินไม่กี่คนไม่กี่กลุ่ม กลายเป็นองค์กรที่มีการบริหาร
จัดการหลากหลายองค์กร และที่สุดทั้งหมดได้เข้ารวมกันเป็นหนึ่งเดียวในเดือนมิถุนายน 2550 -- ในนามของ
"แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ" หรือ นปก.

เดินขบวนไล่ คมช. 9 มิถุนายน 2550