Sunday, January 31, 2010

24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 : จุดเริ่มต้น

article by SIAM Freedom Fight :

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช (Absolute Monarchy) มาสู่ระบอบประชาธิปไตย (democracy)
ในลักษณะประนีประนอมกับฝ่ายกษัตริย์ ซึ่งเป็นฝ่ายยึดครองอำนาจเดิม โดยเรียกระบอบใหม่หลังการ
เปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ว่า Constitutional Monarchy คือระบอบกษัตริย์ที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ

ภายหลังในยุคปัจจุบันจึงมาเรียกกันใหม่ว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข"

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
ถือเป็นการ "ปฏิวัติ" ครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ไทย


ปฏิวัติ (revolution) คือการเปลี่ยนแปลงชนิดขุดรากถอนโคน
ปฏิรูป (reformation) คือการปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิมบางส่วน
และไม่กระทบโครงสร้างหลักต่างๆของสังคมมากมาย
รัฐประหาร (coup d'etat) คือแย่งชิงอำนาจ จะด้วยกำลังทหาร
หรือด้วยกลอุบาย หรือด้วยกระบวนการศาล เพื่อชิงอำนาจจากฝ่ายหนึ่ง สู่อีกฝ่ายหนึ่ง
โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใดในสังคม

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
ขับเคลื่อนโดยข้าราชการพลเรือน ทหารและประชาชน มี พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้นำ
แต่มันสมองที่ขับเคลื่อนขบวนการนั้นมาจาก "หลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือนายปรีดี พนมยงค์"
และมี หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) หรือที่รู้จักกันภายหลังในนามว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม)
เป็นกำลังสนับสนุนทางทหารสำคัญในช่วงแรก - กลุ่มข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหาร และ
ประชาชน ผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นี้มีชื่อเรียกว่า "คณะราษฏร"

ความต้องการของคณะราษฎรคือ อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ไม่ใช่อภิสิทธิ์ชน

หลังฝ่ายราชวงศ์ยอมจำนนแล้ว "คณะราษฏร"และวิธีประนีประนอมแบบพระยาพหลฯ ได้ยินยอม
และมีส่วนร่วมแต่งตั้ง "พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของ
ประเทศไทย ทั้งที่พระยามโนฯเป็นผู้นิยมระบอบเก่า และเป็นที่ทราบกันดีทั่วไปในขณะนั้น ซึ่งนำสู่
ปัญหามากมายในการดำเนินประเทศในทิศทางประชาธิปไตย รัฐบาลของพระยามโนฯ และฝ่าย
นิยมเจ้า มองว่านโยบายเศรษฐกิจของปรีดี พนมยงค์เป็นคอมมิวนิสต์ จึงใช้อำนาจเนรเทศนายปรีดี
ไปอยู่ฝรั่งเศส รวมทั้งประกาศงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา แล้วออก "พระราชบัญญัติป้องกันการ
กระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์" ..ทั้งหมดนี้ ย่อมถูกมองได้เช่นกันว่า ฝ่ายเจ้าได้ทำการยึดอำนาจคืนจาก
คณะราษฎร เป็นการรัฐประหารเงียบ เพราะนายปรีดีนั้น ถือว่าเป็นแกนนำสำคัญของคณะราษฎร แต่
กลับถูกเนรเทศไปอย่างง่ายดาย - นอกจากนั้น การงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราเป็นการเพิ่มอำนาจ
ให้กับรัฐบาลของพระยามโนฯ ..

ฝ่ายนิยมเจ้าสามารถรุกคืบ และพยายามชิงอำนาจคืนจากคณะราษฎร ภายในช่วงเวลาไม่ถึงหนึ่งปี
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งแสดงให้ห็นถึงความเข้มแข็งของระบอบเก่า และความไม่รอบคอบ
ไม่เด็ดขาด ไม่เป็นเอกภาพของฝ่ายคณะราษฎรเองด้วย

เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝ่ายพระยาพหลฯ ในฐานะผู้นำคณะราษฎร จึงตอบโต้รัฐบาลนิยมเจ้าด้วยการรัฐประหาร
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2476 ..และเนรเทศพระยามโนฯไปอยู่ที่ปีนัง

ไม่กี่เดือนต่อมา ในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476
"พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช" อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหมในระบอบเก่า ได้รวบรวมกำลัง
ทหารจากหัวเมือง โดยเฉพาะจากโคราช เข้ามาถึงชานเมืองกรุงเทพ เป็นการก่อรัฐประหารที่ใช้กำลัง
ทหารมากมาย และดูเหมือนได้เปรียบในตอนแรก ทหารของพระองค์เจ้าบวรเดช นั่งรถไฟมาตั้งค่ายอยู่
สถานีรถไฟหลักสี่ และรุกคืบเข้ามาถึงบางเขน

พระยาพหลพลพยุหเสนา ขณะนั้นเป็นนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งให้ "หลวงพิบูลสงคราม" เป็นผู้นำกำลัง
ปราบกบฏ หลวงพิบูลฯออกรบอย่างดุเดือด จนทหารฝ่ายพระองค์เจ้าบวรเดชถอยร่นออกจากกรุงเทพ
ในเวลาไม่นาน และไปจนมุมอยู่ที่โคราช พระองค์เจ้าบวรเดชก็หนีไปอยู่ที่กัมพูชา (อินโดจีนฝรั่งเศส)

ทิ้งทหารที่บาดเจ็บ ล้มตายและที่ถูกจับกุมดำเนินคดีอีกเป็นจำนวนมาก

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
สละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะที่ประทับรักษาพระเนตรอยู่ในประเทศอังกฤษ

ความพ่ายแพ้จากการรบครั้งนี้ ทำให้ฝ่ายนิยมเจ้า-ผู้ฝักใฝ่ระบอบเก่าต้องสูญเสียฐานอำนาจในประเทศ
ไปจนเกือบสิ้น เครือข่ายนิยมเจ้า-ระบอบเก่า ถูกกวาดล้าง จับกุม ดำเนินคดีอย่างรวบรัดตัดตอน รวมไป
ถึงบรรดาศัตรูทางการเมืองอื่นๆของรัฐบาล ก็พลอยโดนเก็บกวาดไปด้วยในโอกาสนี้ ..ซึ่งการกวาดล้าง
คิดบัญชีแค้นกันอย่างมั่วซั่วนี้ ก่อให้เกิดผลเสียแก่ขบวนการ ทั้งในเรื่องนิติธรรม - สร้างอุปทานแห่งการ
ใช้อำนาจเกินขอบเขต ที่สำคัญคือ วิธีนี้ทำให้ฝ่ายตรงข้ามหนีลงใต้ดินกันหมด หรือไม่ก็แอบเข้ามา
แทรกซึมอยู่ใกล้ๆตัว และเครือข่ายนิยมเจ้า-ระบอบเก่ายังคงฝังตัว รอสะสมกำลังและกลับมาใหม่อีกครั้ง
ในรูปแบบใหม่ เนียนกว่าเดิม ฉลาดขึ้นกว่าเดิม

หลังการปราบกบฏ ฝ่ายทหารเริ่มมีบทบาทมากขึ้น

ห้วงเวลาเดียวกัน หลวงพิบูลสงครามในฐานะผู้ปราบกบฏ ได้มีอิทธิพลเพิ่มขึ้นอีกมากมาย
ซ้ำมีแนวคิดโน้มเอียงไปทางลัทธิเผด็จการทหาร หรือ fascism มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี
ก็มีนโยบายออกไปทางลัทธินาซีแบบเยอรมัน และลัทธิบูชิโดแบบญี่ปุ่น สร้างเสริมลัทธิคลั่งชาติ ที่ปลูกฝัง
รากลึกมาจนถึงปัจจุบัน ซ้ำร้ายไปกว่านั้น ตัวของหลวงพิบูลฯเอง ก็มามีเรื่องบาดหมางกับหลวงประดิษฐ์ฯ
หรือนายปรีดี พนมยงค์ เพื่อนรักเก่าแก่ ..แนวคิดแตกแยกแบ่งทาง จนเป็นขั้วตรงข้ามกันไป เรื่องนี้ก็น่า
เข้าใจได้ไม่ยาก เพราะปรีดี พนมยงค์เป็นพวกเสรีนิยม (liberals) ในแนวคิดเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ซึ่ง
แน่นอนว่า ถ้ามีแนวคิดเสรีนิยมในสามประการข้างต้นแล้ว ย่อมเป็นเสรีนิยมทางวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน

ตรงข้ามกับหลวงพิบูลฯเพื่อนเก่า..

สถานการณ์โลกเข้าสู่วิกฤต เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองบานปลาย ขยายตัวไปทั่วทุกภูมิภาค
แตกต่างไปจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่รบกันในวงไม่กว้างนัก และแทบไม่มีผลอะไรในเอเชียเลย แต่ใน
สงครามโลกครั้งที่สองนี้ สนามรบครอบคลุมมาถึงประเทศไทยด้วย รัฐบาลไทยภายใต้การนำของจอมพล
ป. พิบูลสงคราม (หรือหลวงพิบูลสงคราม) ได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 25
มกราคม พ.ศ. 2485 - ดูเหมือนว่าประเทศไทยเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ คือ ญี่ปุ่น เยอรมัน อิตาลี่อย่างเต็มตัว

แต่ในทางลับ ปรากฏว่านายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(ของรัชกาลที่ 8) กลับเป็นผู้นำการต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น ร่วมมือกับฝ่ายสัมพันธมิตร คืออังกฤษ - อเมริกา
ตั้งแต่ต้น..มาจนตลอดสงคราม และเมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามในปี พ.ศ. 2488 ไทยก็มิได้เป็นผู้แพ้สงครามด้วย
โดยอ้างว่าการประกาศสงครามของจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีเป็นโมฆะ
เพราะผู้มีสิทธิประกาศสงครามได้มีเพียงพระมหากษัตริย์เท่านั้น
เนื่องจากไทยเป็นประเทศในระบอบ Constitutional Monarchy คือระบอบกษัตริย์ที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
(และนายปรีดี ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไม่ได้ลงชื่อในการประกาศสงคราม - จึงเป็นโมฆะ)

อย่างไรก็ตาม มุกนี้อังกฤษไม่ขำ และดึงดันไม่ยอมรับข้ออ้างของไทย
แต่ทว่าฝ่ายสหรัฐอเมริกานั้นเข้าข้างไทยแบบเต็มๆ และยอมรับคำกล่าวอ้างของไทย

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ประเทศไทยพลิกสถานะจากประเทศแพ้สงคราม มาเป็นประเทศที่ไม่ได้ทำอะไรเลย..

ส่วนจอมพล ป. ถูกนำขึ้นศาลอาชญากรสงคราม แต่ศาลยกฟ้อง เพราะกฎหมายอาชญากรสงครามของไทยนั้น
ออกมาภายหลัง และไม่มีผลย้อนหลังตามกระบวนพิจารณาคดีอาญา ทั้งหมดนี้ก็เป็นเล่ห์กลของไทย ที่จะนำ
ประเทศออกจากเรื่องยุ่งๆหลังสงคราม ซึ่งขณะนั้น นายปรีดีเป็นนายกรัฐมนตรี และกล่าวกันว่ามีส่วนรู้เห็นในการ
ส่งจอมพล ป. ขึ้นศาลอาชญากรสงครามในประเทศไทยเพื่อให้ศาลไทยยกฟ้อง (ตามข้อกฎหมายดังกล่าวไว้
ข้างต้น) เพราะหากจอมพล ป. ถูกส่งไปขึ้นศาลในญี่ปุ่น ต้องถูกแขวนคอแน่นอน (อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ยัง
คงมีคนถกเถียงกันอยู่ ซึ่งใครสนใจ หรือเห็นต่าง ก็ควรไปค้นหาเพิ่มเติมกันเอง)

และบ้านเมืองนี้อยู่ดีได้ไม่นาน
ต่อมาเกิดเหตุสวรรคตของรัชกาลที่ 8 และมีการกล่าวร้ายป้ายสีจากพรรคการเมืองฝ่ายค้านในขณะนั้น ว่า
"นายปรีดีฆ่าในหลวง" แม้นจะเป็นเรื่องโกหก แต่คนก็จะแถ..เอาเป็นประเด็นการเมืองจนได้ เมื่อรัฐบาลต้องการให้
มีการอภิปรายในรัฐสภาถึงสาเหตุสวรรคต เพื่อให้เรื่องทุกอย่างกระจ่างด้วยหลักฐานข้อมูลตามจริง ก็มีเสียงคัดค้าน
จากพรรคบางพรรคว่าจะเป็นการกระทบกระเทือนใจ (ใคร..) ?? เรื่องก็ถูกปกปิดดำมืดมาจนปัจจุบัน แต่สิ่งที่พรรค
ฝ่ายค้านขณะนั้น คือพรรคประชาธิปัตย์ สามารถทำสำเร็จคือ โค่นปรีดี พนมยงค์ ลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

อย่างไรก็ตาม แม้นายปรีดีต้องลาออกจากตำแหน่ง คนของเขาก็ยังอยู่ในรัฐบาลเต็มไปหมด รวมทั้ง
พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งขึ้นเป็นนายกฯแทน และยังมี พล.อ.หลวงอดุยเดชจรัส ผู้บัญชาการทหารบก
ที่ยังยืนข้างรัฐบาล - แต่ที่สุดแล้วก็ไปไม่รอด ถูกรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

นี่เป็นจุดพลิกผันสำคัญอีกช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์
หากมองว่ารัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ก็คือจุดเริ่มต้นการกลับมาของระบอบเก่าในรูปแบบใหม่
ที่เนียนกว่า ฉลาดกว่า อดทนกว่า มั่นคงกว่าเดิม ??? ลองย้อนเหตุการณ์กันอีกครั้ง

พรรคประชาธิปัตย์ ภายใต้การนำของนายควง อภัยวงศ์ เป็นพรรคฝ่ายค้าน
ได้โค่นนายปรีดี พนมยงค์ ลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ไม่สามารถโค่นรัฐบาลของนายปรีดีลงได้


แล้วก็มีคนมารับช่วงงานต่อจากพรรคประชาธิปัตย์ คือกลุ่มทหาร
ที่นำโดย (ยศขณะนั้น) พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ น.อ.กาจ กาจสงคราม พ.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ พ.อ.สฤษดิ์ ธนะรัชต์
พ.อ.ถนอม กิตติขจร พ.ท.ประภาส จารุเสถียร และ ร.อ.สมบูรณ์ (ชาติชาย) ชุณหะวัณ ร่วมกันก่อรัฐประหาร
แล้วเชิญพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นเป็นรัฐบาลในช่วงสั้นๆ ..หลังจากนั้น คณะรัฐประหารจึงเชิญจอมพล ป.พิบูลสงคราม
กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง

ผลงานหลักของรัฐบาลทหาร คือการกวาดล้างเครือข่าย แนวร่วมของนายปรีดี พนมยงค์ให้สิ้นซากไปจาก
ประเทศไทย ผู้สนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์ถูกรัฐบาลทหารจับตัวไปสังหาร มากมายหลายคน ไม่ว่าจะเป็นอดีต สส.
อดีตรัฐมนตรี หรือประชาชนธรรมดา - รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 โค่นฐานกำลังเครือข่ายปรีดี พนมยงค์
รวมทั้งขจัดแนวคิดทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจแบบของเขาด้วย

ก่อนการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ก็มี"ชนชั้นสูง"บางคน เดินสายปล่อยข่าวลือต่างๆนาๆเกี่ยวกับ
นายปรีดี พนมยงค์ "ชนชั้นสูง"บางคนเดินสายไปเยี่ยมเอกอัครราชทูตอังกฤษบ้าง ไปเล่าเรื่องทำนองว่านายปรีดี
อยากเป็นประธานาธิบดี จะตั้งสาธารณรัฐบ้าง จะเป็นคอมมิวนิสต์บ้าง แม้ทูตอังกฤษจะบันทึกเรื่องราวที่ฟังมาส่งให้
รัฐบาลอังกฤษ แต่ก็แถมความเห็นในเชิงดูถูกดูแคลนชนชั้นสูงคนนั้นไว้มากพอสมควร เพราะอังกฤษมองแค่ผล
ประโยชน์ของชาติอังกฤษเป็นหลัก จึงมองปรากฏการณ์เดินสายนี้ว่า อาจมีเหตุร้ายแรงในเมืองไทย เช่นรัฐประหาร
หรือการแย่งชิงอำนาจเกิดขึ้น .. แต่ก็เท่านั้นสำหรับอังกฤษ

แม้ว่าจอมพล ป. พิบูลสงครามจะเคยเป็นหนึ่งในคณะราษฎร แต่ความคิดของเขานั้น มิได้ใกล้เคียงกับอุดมการณ์
ของคณะราษฎรเลยแม้แต่น้อย ดังนั้น รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 มิใช่เป็นเพียงการโค่นปรีดี พนมยงค์
เท่านั้น แต่เป็นเสมือนการดับฝันประชาธิปไตยของคณะราษฎรลงไปด้วย ประชาธิปไตยไทยที่เพิ่งจะหัดเดิน อย่าง
ล้มลุกคลุกคลาน ก็จบสิ้นไปกับรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ซ้ำร้ายยังทำให้ระบอบเก่าในรูปแบบใหม่ ที่
เรียกกันว่า "ระบอบอำมาตยาธิปไตย" ได้มีโอกาสฝังรากลึกในสังคมไทยอีกนานเท่านาน

นวัตกรรมสำคัญหลังรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ที่ชนชั้นอำนาจฝึกฝนและใช้สืบเนื่องมาอีกหลายสิบปี
ก็คือ "ปาหี่ประชาธิปไตย" คือการจัดให้มี "การเลือกตั้ง" เพื่อให้ดูเสมือนว่าบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย แล้วอาศัย
กลไกของรัฐ - กลไกของกองทัพ ในการโกงเลือกตั้ง เพื่อให้พรรคจัดตั้งของตนมีโอกาสรับเสียงข้างมากในสภา
จากนั้น ก็หยิบเอาผู้นำของตน หรือผู้นำของคณะรัฐประหาร ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี

วิธีการเช่นนี้ของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้กลายมาเป็นสูตรสำเร็จของ "ระบอบอำมาตยาธิปไตย" ในเวลาต่อมา

ซึ่งเป็นเรื่องหักมุมที่ทั้งน่าเศร้าและน่าขบขันไปพร้อมๆกัน
หลวงพิบูลสงครามเคยเป็นหนึ่งในคณะราษฎร ที่ต่อสู้เสี่ยงชีวิตเพื่ออธิปไตยของประชาชน แล้วก็มาเป็นผู้นำทัพ
ปราบกบฏ ปราบปรามฝ่ายนิยมเจ้า สร้างความเข้มแข็งให้กับคณะราษฎร แต่แล้วตัวเขาเองก็หันมานิยม fascism
ลัทธิเผด็จการทหาร ห่ำหั่นกับเพื่อนคณะราษฎรในสายเสรีนิยม แล้วก็มาสร้างนวัตกรรม"ปาหี่ประชาธิปไตย" ในแบบ
ที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่ในที่สุด วิธีการเช่นนี้กลับส่งผลสะท้อนในทางลบ จนทำให้ตนเองต้องถูกกำจัดไปจากแผ่นดิน
ไทย ซ้ำร้าย..นวัตกรรม"ปาหี่ประชาธิปไตย"ของเขานั้น ได้มาเป็นเครื่องมือสำคัญของระบอบเก่าในรูปแบบใหม่ คือ
ระบอบอำมาตยาธิปไตย และฝ่ายนิยมเจ้า ที่กลับมายึดครองอำนาจอีกครั้ง หลังจากรัฐประหาร ปี พ.ศ. 2500

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 กล่าวว่าเป็นการเลือกตั้งที่โกงทุกรูปแบบ
ทั้งใช้กลไกอำนาจรัฐ และอำนาจนักเลงอันธพาล จนทำให้พรรคเสรีมนังคศิลา ของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับ
เสียงข้างมาก เพียงพอที่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่ก็มีประชาชนจำนวนหนึ่งออกมาประท้วงขับไล่ เรียกร้องให้
จอมพล ป. พิบูลสงคราม และ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจลาออกจากตำแหน่ง

เข้าสู่ยุคของ "ระบอบอำมาตยาธิปไตย" ในแบบที่เรารู้จักในปัจจุบัน

หนึ่งในคณะรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 - สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในช่วงปี พ.ศ. 2500 มียศจอมพล และดำรง
ตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม ในรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ควบกับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก แต่จอมพล
สฤษดิ์ ธนะรัชต์ อยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีได้ไม่กี่วันก็ลาออก อันเนื่องมาจากเหตุการเดินขบวนประท้วงขับไล่รัฐบาล

เมื่อมีประชาชนจำนวนหนึ่งออกมาเดินขบวนไล่รัฐบาล
จอมพล ป. ในฐานะนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้จอมพลสฤษดิ์ ทำหน้าที่ควบคุม ปราบปรามฝูงชน
แต่ปรากฏว่าจอมพลสฤษดิ์ กลับไปเป็นผู้นำม๊อบเสียเอง แล้วยังนำประชาชนเข้าพบนายกรัฐมนตรีอีกด้วย
ซึ่งทำให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้คะแนนนิยมจากผู้คนในกรุงเทพฯไปมากพอสมควร

ต่อมาในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ยื่นคำขาดให้รัฐบาลลาออก และในวันที่ 15 กันยายน
ฝูงชนได้บุกเข้าไปในทำเนียบ แต่ไม่พบตัวจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้คนจึงเดินทางต่อไปยังบ้านจอมพลสฤษดิ์

ขณะเดียวกัน รัฐบาลกำลังเตรียมจับกุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ในข้อหากบฏ แต่ทว่าในคืนวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อการรัฐประหาร ทั้งจอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ได้หลบหนีออก
นอกประเทศอย่างเฉียดฉิว

หลังรัฐประหาร จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้แต่งตั้งนายพจน์ สารสิน เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อจัด "ปาหี่ประชาธิปไตย"
ดำเนินการเลือกตั้งเพื่อให้คนของฝ่ายตน คือ พลโทถนอม กิตติขจร สามารถขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 มกราคม
พ.ศ. 2501 - อย่างไรก็ตาม การมีสภาผู้แทนราษฎรนั้น ย่อมมีผู้แทนราษฎร (จากการเลือกตั้ง) อยู่ในสภาด้วย ซึ่งทำให้
คณะรัฐประหารไม่สามารถดำเนินการตามใจชอบได้ ดังนั้น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และพลโทถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี
จึงร่วมมือกันทำรัฐประหาร..ยึดอำนาจจากตัวเอง เพื่อโค่นล้มสภาผู้แทนฯ แล้วจากนั้น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ขึ้นเป็น
นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502

ระบบการศึกษาไทยและสื่อมวลชนไทยภายใต้ระบอบอำมาตยาธิปไตย พยายามอธิบายว่าการรัฐประหารใน ปี 2490
และในปี 2500 นั้นเป็นที่ชื่นชมยินดีของคนไทยในห้วงเวลานั้น (!!! ???)
นอกจากนั้น ข้อความใน วิกิพีเดีย ยังกล่าวสดุดีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ไว้ว่า
"ท่านได้ใช้มาตรการเบ็ดเสร็จ เด็ดขาด เพื่อจัดการความสงบเรียบร้อยของประเทศ เช่น ประหารชีวิตเจ้าของบ้านทันที
หลังจากบ้านใดเกิดเพลิงไหม้.."

"ใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 17 การปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นผู้ที่รื้อฟื้นกิจกรรมที่แสดง
ออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น จัดงานเฉลิมฉลองวันพระราชสมภพ การสวนสนามของทหารรักษา
พระองค์ การประดับไฟบนถนนราชดำเนินในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา"

back to SIAM Freedom Fight (main page)