Saturday, February 6, 2010

ระบอบอำมาตยาธิปไตย - ระบอบอำมาตยาธิปไตยใหม่

an excerpt from Red in The Land
article : SIAM Freedom Fight

ระบอบอำมาตยาธิปไตยใหม่
ระบอบอำมาตยาธิปไตยเติบโตและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีชนชั้นหลากหลายภายในชนชั้น และมีคนใหม่ๆเข้ามา
ร่วมระบอบอยู่เรื่อยๆ ..ในยุคก่อนนั้น จะมีชนชั้นอำมาตย์สายพลเรือน และสายทหาร ต่อมา..โดยเฉพาะช่วงหลังจาก
ดร.ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทยเข้าสู่เวทีอำนาจการเมือง ความต่างระหว่างชนชั้นอำมาตย์สายพลเรือนและ
สายทหารก็เลือนลางไป บางกลุ่มเข้ามาผนึกกำลังเป็นหนึ่งเดียวมากขึ้น กลายเป็นสายชนชั้นอำมาตย์ปัจจุบัน

อำมาตยาธิปไตย แต่เดิมหมายถึงระบอบที่ อำมาตย์มีอำนาจสูงสุด หรืออธิปไตยเป็นของชนชั้นอำมาตย์
คำว่า "อำมาตย์" โดยทั่วไปหมายถึง ขุนนาง ข้าราชการ แต่ทว่า "อำมาตย์ในระบอบอำมาตยาธิปไตย" มีความมหมาย
ครอบคลุมไกลกว่านั้น เมื่อประชาชนฝ่ายประชาธิปไตยกล่าวถึง "ระบอบอำมาตยาธิปไตย" คำว่า อำมาตย์ จะรวมไป
ถึง.."ชนชั้นต่างๆที่มีประโยชน์ร่วมกันในระบอบนี้ และทำทุกวิธีทางที่จะรักษาผลประโบชน์แห่งตน ภายใต้ระบอบที่ว่านี้"
ชนชั้นเหล่านี้มีทั้ง ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ชนชั้นกลาง และชนชั้นล่าง(ที่ไม่ได้ประโยชน์จากระบอบ แต่ก็ยังสนับสนุน)

แต่เดิมนั้นเมื่อกล่าวถึง"ระบอบอำมาตยาธิปไตย" เรามักเน้นไปที่การบริหารบ้านเมือง..ที่ข้าราชการเป็นใหญ่ ควบคุม
อำนาจกลไกต่างๆไว้ และเป็นผู้กำหนดทิศทางประเทศแต่ฝ่ายเดียว ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงระบอบอำมาตยาธิปไตย บางคน
จึงใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า bureaucratic polity - ซึ่งลักษณะบ้านเมืองเช่นนี้ จะเห็นชัดเจนในช่วงตั้งแต่รัฐบาลของ
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มาจนถึงพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

อย่างไรก็ตาม ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ระบอบนี้มีชีวิต เติบโตและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ดังนั้นคำว่า อำมาตยาธิปไตย ในปัจจุบันจึงมิใช่แค่ชนชั้นข้าราชการ แต่เป็นในลักษณะของ "อภิสิทธิ์ชน" ซึ่งเราสามารถ
เรียกรวมๆ..ในภาษาอังกฤษได้ว่า aristocracy หรือ aristocrats หรือ pseudo aristocrats (คือการเลียนแบบชนชั้นสูง)

เศรษฐกิจที่เติบโตขึ้น และการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในสมัยรัฐบาลชาติชาย (2531 - 2534) ทำให้เกิดชนชั้นกลางใหม่
ขึ้นมากมาย ขณะที่คนจีนอพยพในรุ่นแรกๆ เริ่มมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ..และส่งลูกหลานเข้าโรงเรียนชนชั้นศักดินา
เพื่อยกสถานะทางสังคม คบหากับลูกหลานชนชั้นศักดินาจากสังคมเก่า มีการแต่งงานกับลูกหลานศักดินา และชนชั้นสูง
รวมไปถึงเชื้อพระวงศ์บางส่วน ลูกหลานคนอพยพเหล่านี้จึงเปลี่ยนสถานะทางสังคมมาเป็นชนชั้นสูงด้วย - นอกจากนั้น
ยังมี สามัญชน ลูกชาวบ้านธรรมดา ที่ร่ำเรียนด้วยความพยายามจนจบการศึกษา ทั้งที่ได้ทุนจากรัฐ และที่พ่อแม่ส่งเสีย
ให้เรียนหนังสืออย่างยากลำบาก ..คนเหล่านี้เมื่อมีหน้าที่การงาน รับราชการ บางส่วนเจริญก้าวหน้า จนสามารถยกสถานะ
จากลูกชาวบ้าน หลานชาวนา ไปเป็นชนชั้นสูงในสังคมได้เช่นกัน

แน่นอนว่า ในระบอบอำมาตยาธิปไตย ก็เปิดโอกาสให้ชนชั้นล่างยกระดับขึ้นมาเป็นชนชั้นสูง และแน่นอนอีกเช่นกันว่า
จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่สังคมอำมาตยาธิปไตยกำหนด (ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาของสังคมทั่วไป ที่มีกติกาของตนเอง)
เปรม ติณสูลานนท์ และ ประเวศ วะสี ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของชนชั้นอำมาตย์ที่ก้าวขึ้นมาจากชนชั้นล่าง

ระบอบอำมาตยาธิปไตยปกครองอย่างแนบเนียน และอาศัยความเชื่อทางศาสนาในการรักษาความสงบ-มั่นคงของชนชั้น
เช่น คนที่มีเงิน มีอำนาจ เป็นเพราะทำบุญไว้มากในชาติปางก่อน ส่วนคนที่ต่ำต้อยยากจน เพราะทำบุญไว้น้อย คติแบบนี้
ช่วยลด หรือกลบเกลื่อนความหมายของการถูกกดขี่ ทางออกสำหรับคนนอกวงจรอำนาจ จึงไม่ใช่การลุกขึ้นต่อสู้เพื่อสิทธิ
พลเมืองของตน แต่วิธีแก้ปัญหากลับเป็น การทำบุญเข้าวัด..เผื่อว่าชาติหน้าจะได้มีวาสนากับเขาบ้าง

หรือความใฝ่ฝันของชนชั้นล่างในระบอบอำมาตยาธิปไตย คือดิ้นรนส่งเสียลูกหลาน เพื่อโตขึ้นจะได้เป็น "เจ้าคนนายคน"
ซึ่งหมายความว่า การเป็นเจ้าเหนือคนอื่นนั้น..เป็นสิ่งที่ดี และคนชั้นล่างควรขยันหมั่นเพียรต่อไป ความเชื่อนี้ คือการสร้าง
ความชอบธรรมให้แก่การเป็น "เจ้าเหนือคนอื่น" ..แล้วยังช่วยสลายแนวคิด "ความเป็นประชาชนที่เสมอภาค" ให้ลบเลือน
หายไปจากกระบวนคิดของคนในสังคมไทย เหล่านี้เป็นการสร้าง "วัฒนธรรมจำยอม" ให้หยั่งรากลึกชั่วลูกหลาน

แน่นอนว่า ระบอบอำมาตยาธิปไตยไม่เคยปฏิเสธชนชั้นล่าง..ที่จะไต่เต้าขึ้นมาสู่ชนชั้นอำนาจ
และเงื่อนไขของการมีเส้นสาย มีผู้อุปถัมภ์เลี้ยงดู ก็เป็นเงื่อนไขของสังคมมนุษย์ทั่วไป - ไม่ว่าจะในระบอบใด
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของระบอบอำมาตยาธิปไตยไทย อยู่ที่การรวมศุนย์อำนาจไว้นานเกินไป
และรวมศูนย์อำนาจไว้มากเกินไป โดยที่..ตลอดเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ไม่มีผลงานเป็นชิ้นเป็นอัน มีแต่ข้อแก้ตัว
แน่นอนว่า การที่ระบอบอำมาตยาธิปไตยครองอำนาจอยู่กว่าครึ่งศตวรรษ ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการพัฒนาหลายอย่าง
เกิดภายใต้ระบอบอำมาตย์ แต่นั่นก็เป็นเพราะอำมาตย์ผูกขาดการบริหารอยู่ฝ่ายเดียว และยังเป็นผลงานที่เชื่องช้า ไม่ใช่
การพัฒนาที่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก ไม่ว่าจะแง่เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม

ในกลุ่มชนชั้นอำมาตย์เอง เคยมีการยกปัญหาทำนองนี้ขึ้นมาหลายต่อหลายครั้ง มีการเสนอให้กระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น
ทั้งอำนาจการเมืองและเศรษฐกิจ เพื่อความเจริญก้าวหน้าของส่วนรวม และยังเป็นการรักษาอำนาจของชนชั้นอำมาตย์ไว้
ได้อีกยาวนานด้วย ..แต่ในที่สุด ก็ไม่เคยมีการแก้ไขปัญหาใด ความพยายามในการแก้ปัญหาบ้านเมืองกลายเป็นการแย่ง
ชิงบทบาทอำนาจระหว่างอำมาตย์สายพลเรือน กับอำมาตย์สายทหาร ..จนกระทั่งอำมาตย์สายทหารขัดแย้งกันเอง จนเกิด
เหตุการณ์นองเลือด พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ที่แทบจะสลายขั้วอำนาจของอำมาตย์สายทหารลงไปเกือบสิ้น

ชนชั้นอำมาตย์สายพลเรือน เช่น ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ..อานันท์ ปัญญารชุน เข้ามีบทบาท หรือให้แนวคิด
ในการร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งในตอนนั้น คนเหล่านี้ต้องการรัฐบาลพลเรือนที่เข้มแข็ง มั่นคง ครองเสียงข้างมากในรัฐสภา
จึงออกแบบรัฐธรรมนูญที่เอื้อต่อปรากฏการณ์ดังกล่าว คนเหล่านี้ไม่ต้องการรัฐบาลทหาร..ที่ไม่รู้เรื่องราว

เพราะอย่างไร..ในสายตาชนชั้นอำมาตย์
อำมาตย์พลเรือนย่อมมีสติปัญญาเหนือกว่าอำมาตย์ทหารแน่นอน
(คือในชนชั้นก็ยังการแบ่งชนชั้นแยกย่อยอีกด้วย)


การร่างรัฐธรรมนูญ 2540 เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์นองเลือด พฤษภาคม พ.ศ. 2535
พรรคการเมืองที่เข้มแข็ง ที่สามารถขึ้นเป็นรัฐบาลเสียงข้างมากได้..ขณะนั้น ก็มีเพียงพรรคประชาธิปัตย์
และพรรคประชาธิปัตย์ก็เป็นพรรคเก่าแก่ของชนชั้นอำมาตย์มาเนิ่นนาน โดยเฉพาะอำมาตย์สายพลเรือน

สิ่งที่ไม่คาดคิดไว้ก่อน ก็คือดร. ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาสู่สนามการเมืองอย่างจริงจัง และตั้งพรรคไทยรักไทย
ในขณะที่ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นรัฐบาลตอนนั้น..ไม่สามารถแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของชาติได้ ทำให้สูญเสียฐาน
มวลชนชั้นกลาง รวมทั้งพวกปฏิกิริยาชนชั้นกลางไปมากพอสมควร - พรรคไทยรักไทยจึงเป็นทางเลือกสดใหม่ และมี
โอกาสชนะการเลือกตั้งในหลายพื้นที่ - ชนชั้นอำมาตย์สายประชาธิปัตย์ จึงเริ่มโจมตีดร.ทักษิณ..อย่างหนัก มีการโยน
คดีซุกหุ้นและอีกมากมาย ศัตรูเก่าของดร.ทักษิณ..ส่วนหนึ่งมาจากพรรคพลังธรรม ที่ผูกใจเจ็บมาแต่สมัยที่ ดร.ทักษิณ
เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ในสังกัดพรรคพลังธรรมนั่นเอง

ขณะนั้น ปีพ.ศ. 2544 ชนชั้นอำมาตย์ในระดับสูงขึ้นไปยังวางเฉย
และเมื่อพรรคไทยรักไทยได้คะแนนเสียงจากประชาชนมากมาย..จนน่าตกใจ ชนชั้นอำมาตย์ระดับสูงก็ยังวางเฉย
แต่ก็แอบสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง ด้วยต้องการให้ดร.ทักษิณ ช่วยจัดการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจ ที่เป็นปัญหาของชาติ
และเป็นปัญหาส่วนตัวของชนชั้นอำมาตย์ระดับสูง

ทักษิณ ชินวัตร..แก้ปัญหาเศรษฐกิจได้สำเร็จ และยังทำตามนโยบายที่สัญญาไว้กับประชาชน
ช่วงขณะหนึ่ง ดูเหมือนเขาจะกลายเป็นคนโปรดของชนชั้นสูงหลายต่อหลายคน ประชาชนรากหญ้าก็เริ่มชื่นชม
และอันที่จริง ปัญหาของระบอบอำมาตยาธิปไตยน่าจะยุติลงได้ด้วยดีแล้ว..ตั้งแต่ตอนนั้
เพราะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ประเทศชาติก็มีอำนาจต่อรองกับนานาประเทศมากขึ้น ประชาชนในภูมิภาค
ก็เริ่มช่วยเหลือตัวเองได้..และมีแนวโน้มว่าจะไม่เป็นภาระของส่วนกลาง (หรือชนชั้นอำมาตย์)อีกต่อไป ในขณะที่
ค่านิยมความเชื่อในระบอบอำมาตยาธิปไตยก็ยังอยู่ดี ไม่มีใครท้าทาย หรือคนที่ท้าทายก็มีน้อย..จนไม่มีปากเสียง
รัฐบาลทักษิณก็ไม่เคยออกนอกลู่นอกทางระบอบอำมาตยาธิปไตย โดยเฉพาะในด้านสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ

อย่างไรก็ตาม ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น
ชนชั้น และระบอบอำมาตยาธิปไตย ประกอบด้วยผู้คนหลากหลาย

ชนชั้นสูงก็มีความคิดที่คาดเดายาก เปลี่ยนข้างได้รวดเร็ว ..ชนชั้นล่างที่เพิ่งก้าวมาเป็นชนชั้นอำมาตย์ได้ไม่นานก็
ยังไม่ลึกซึ้งกับศักดิ์ศรี และ ยุทธวิธีบางอย่างของชนชั้นศักดินาเดิม จึงเลือกที่จะเปิดแนวรบกับประชาชนโดยตรง
อีกทั้งบางส่วนของชนชั้นอำมาตย์ใหม่ - ชนชั้นกลางใหม่ ยังมีคนที่ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ไปดึงเอาสิ่งที่ไม่ควรแตะต้อง
เอามาใช้เป็นเครื่องมือทำลายฝ่ายตรงข้าม พวกปฏิกิริยาก็เน้นการล่าล้างโคตร เอาสะใจเป็นหลัก

แน่นอนว่า ชนชั้นอำมาตย์ส่วนมาก..มีนิสัยดูถูกประชาชน โดยเฉพาะดูถูกคนเหนือ คนอีสาน
แต่ชนชั้นศักดินาในอดีต จะมีวิธีการดูถูกเหยียดหยามผู้คน..อย่างเนียน และมีศิลปะ ชนชั้นอำมาตย์ในอดีตก็จะ
ไม่เปิดแนวรบกับประชาชนโดยตรง แม้แต่ในสมัยสงครามต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งฝ่ายซ้าย
ก็ประกาศสงครามชนชั้นอย่างชัดเจน แต่ชนชั้นอำมาตย์ในอดีตก็ไม่เคยเปิดแนวรบกับประชาชน จึงทำให้ พคท.
ขาดแนวร่วมประชาชน และไม่สามารถรุกคืบได้มากนัก - ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ แตกต่างไปจากชนชั้นอำมาตย์ใน
ยุคปัจจุบัน (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เรื่อยมา) ..และข้อผิดพลาดใหญ่หลวง คือการใช้พวกปฏิกิริยาชนชั้นกลาง เป็น
กำลังหลักในการโค่นกลุ่มอำนาจของดร. ทักษิณ ชินวัตร

ที่เรียกกันว่า พวกปฏิกิริยาชนชั้นกลาง ก็เพราะเป็นกลุ่มคนที่มีปฏิกิริยา.. และไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น
"พวกปฏิกิริยาชนชั้นกลาง" ใช้สำหรับเป็นแนวหน้า เป็นตัวป่วน สร้างกระแสขัดแย้ง และมีประโยชน์เพียงเท่านั้น
เมื่อจุดกระแสติดแล้ว สมควรเก็บกวาดคนเหล่านี้ออกไปจากสนามการต่อสู้ เพราะคนพวกนี้มักทำให้เสียเรื่อง
คือถ้าไม่ทำให้แพ้ ก็จะทำให้เหตุการณ์บานปลาย.. ในการปฏิวัติของประเทศลาว สิ่งแรกเมื่อฝ่ายสังคมนิยมชนะ
ก็คือกวาดล้างพวกปฏิกิริยาชนชั้นกลาง..ที่เคยเป็นแนวร่วมของตนเอง

ในศึกโค่นอำนาจทักษิณ ชินวัตร ชนชั้นอำมาตย์กลับใช้ "พวกปฏิกิริยาชนชั้นกลาง" เป็นทั้งแนวหน้าและกำลังหลัก
"พวกปฏิกิริยาชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ"
คือองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ชนชั้นอำมาตย์ต้องเปิดแนวรบกับประชาชน

ซ้ำร้าย..ชนชั้นอำมาตย์บางคนก็ยังร่วมผสมโรง ทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งรองกลายเป็นความขัดแย้งหลัก..

วาทกรรมที่ไม่เคยมีใครตั้งคำถาม มาถึงตอนนี้ก็ใช้ไม่ได้อีกแล้ว

back to SIAM Freedom Fight (main page)